วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555


แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นเตาเผาซึ่งมีพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี เมื่อประมาณ 700-800 ปี มาแล้วของลุ่มแม่น้ำท่าจีน ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ถึง พุทธศตวรรษที่ 21 ผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่งสีเทา เผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,200 องศาเซียลเซียส เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงส่งไปขายยังภูมิภาคต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย เครื่องปั้นดินเผาที่ขุดพบในเขตพื้นที่ตำบลสำพะเนียง คือ ไหเท้าช้างลายนักรบโบราณ ถือดาบและโล่ มีช้างศึกและม้าศึก สะท้อนให้เห็นถึงการศึกสงครามในสมัยโบราณ ลายดอกไม้ลายใบโพธิ์แบบต่าง ๆ ลายตัวอุ ลายเสมา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เครื่องหมายการบินไทยนั้นเป็นลายไทยที่มีมาแต่โบราณเพียงแต่ของเดิมเป็นรูปตั้งขึ้น

เครื่องปั้นดินเผา แหล่งเตาเผาบ้านบางปูน ต.วิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
               แหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17 ถึงพุทธศตวรรษที่ 21 เช่นกัน ผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่าเครื่องสังคโลกเป็นภาชนะเนื้อแกร่ง เคลือบสีเขียวไข่กา เผาด้วยความร้อนสูงถึง 1,280 องศาเซียลเซียส มีภาชนะประเภท ไห อ่าง ถ้วยชาม กระปุก และตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ เครื่องสังคโลกถือเป็นเครื่องปั้นดินเผาชั้นดี ทั้งด้านความคงทนและความสวยงาม มีชื่อเสียงแพร่หลาย ส่งไปขายยังที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับเครื่องปั้นดินเผาที่ ขุดพบตามแนวแม่น้ำลพบุรีสายเก่า บริเวณโรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์ และตลอดแนวแม่น้ำลพบุรีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตพื้นที่ตำบลสำพะเนียง อำเภอบ้านแพรก เขตติดต่ออำเภอมหาราช ส่วนใหญ่เป็นประเภทถ้วยชามสังคโลก กระปุกสีเขียวไข่กา และที่เป็นเศษภาชนะจำนวนมาก
    
กระปุกเคลือบสีเขียวไข่กา แหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย

กระปุกสังขโลก สมัยสุโขทัย แหล่งเตาเผาศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
               แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรีสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 ถึง 23 ศูนย์กลางของเตาเผาอยู่บริเวณวัดพระปรางค์ เป็นแหล่งเตาเผาที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์ และการค้าสำเภาสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลิตภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเนื้อแกร่ง ไม่เคลือบ มีตั้งแต่เนื้อละเอียดจนถึงเนื้อหยาบ สีแดงและสีเทาแกมชมพู ที่ขุดพบในเขตชุมชนโบราณบ้านแพรก เขตพื้นที่ตำบลบ้านแพรก และตำบลสำพะเนียง มีเป็นจำนวนมาก ประเภทภาชนะของใช้ภายในบ้าน เช่น ไหสี่หู โอ่ง อ่าง ครก กระปุก เต้าปูน หม้อทะนน ฝาหม้อชนิดโค้ง เป็นต้น นอกจากนี้แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อยยังเป็นแหล่งผลิตท่อประปาดินเผาที่ใช้ที่วังนารายณ์ จังหวัดลพบุรี กระเบื้องดินเผามุงหลังคาและลูกปืนใหญ่ดินเผาที่ใช้ในสงครามสมัยกรุงศรีอยุธยา

เครื่องปั้นดินเผาและไหสี่รู แหล่งเตาเผาบ้านแม่น้ำน้อย ต.เชิงกลัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี

ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาชนิดฝาโค้ง แหล่งเตาเผาแม่น้ำน้อย
 
เศษภาชนะกระเบื้องเคลือบจากแหล่งต่างๆ
 
เศษภาชนะจานชามกระเบื้อง เครื่องปั้นดินเผาเขียวไข่กา ที่มีลวดลายงดงามอ่อนช้อย
โบราณวัตถุแหล่งภูมิปัญญาทางความคิดของสังคมไทย

ตุ๊กตาเสียกระบาล รูปเด็กผู้ชาย สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21

ตุ๊กตามอบฟังเทศ สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 23

ตุ๊กตาแขนอ่อน สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 23

ตุ๊กตาที่ปั้นให้เด็กเล่น สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 23
 
ตุ๊กตาแก้บนสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 23
 
ช้างเบญจรงค์สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
 
กระดิ่งช้าง ตรุษ ใบเสมา ไว้สำหรับคล้องหน้า หู คอ ของช้างและม้าศึก
สมุดข่อยโบราณ กว่า 200 เล่ม ทั้งวิชาการ ตำราต่างๆ
ตลอดจนภาพแสดงวิถีการดำเนินชีวิตในสังคมสมัยก่อน

สมุดข่อยที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบ้านแพรก โดยมีคำว่าบ้านแพรกปรากฎในสมุดข่อยโบราณ
 
สมุดข่อยที่ใช้ในการดูโหราศาสตร์ และสมุดข่อยนิทานสำหรับเด็ก
เครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน

   
เครื่องจักสานที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำประเภทต่างๆ

เครื่องจักสานใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

เรือที่ใช้ในการเดินทางในสมัยโบราณ ประเภทต่างๆ

เครื่องใช้โบราณประเภทต่างๆ

กล่องยาสูบดินเผาสมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 19 - 23

เครื่องใช้สำหรับผู้หญิง (ตะปิ้ง)

เครื่องปรับอากาศ หรือเรียกเป็นภาษาพูดว่า แอร์ (อังกฤษAir conditioner, aircon) คือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับปรับอุณหภูมิของอากาศในเคหสถาน เพื่อให้มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในที่ที่ไม่ร้อนหรือไม่เย็นจนเกินไป หรือใช้รักษาภาวะอากาศให้คงที่เพื่อจุดประสงค์อื่น เคหสถานในเขตศูนย์สูตรหรือเขตร้อนชื้นมักมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดอุณหภูมิให้เย็นลง ตรงข้ามกับในเขตอบอุ่นหรือเขตขั้วโลกใช้เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้สูงขึ้น (อาจเรียกว่า เครื่องทำความร้อน) เครื่องปรับอากาศมีทั้งแบบตั้งพื้น ติดผนัง และแขวนเพดาน ทำงานด้วยหลักการการถ่ายเทความร้อน กล่าวคือ เมื่อความร้อนถ่ายเทออกไปข้างนอก อากาศภายในห้องจะมีอุณหภูมิลดลง เป็นต้น และเครื่องปรับอากาศอาจมีความสามารถในการลดความชื้นหรือการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ด้วย
ขนาดของเครื่องปรับอากาศ มีหน่วยเป็น บีทียู ต่อ ชั่วโมง (BTU/hr) (บีทียู เป็นหน่วยของความร้อน) เป็นค่าความสามารถในการลดพลังงานความร้อนของเครื่องปรับอากาศ โดยการลดพลังงานความร้อน 1 บีทียู จะทำให้น้ำบริสุทธิ์ที่หนัก 1 ปอนด์ (ประมาณ 453.6 มิลลิลิตร) เย็นลง 1 องศาฟาเรนไฮต์ 






ตู้เย็นตามบ้านทั่วไป
ตู้เย็น เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทำความเย็นโดยประกอบด้วยสองส่วนหลัก ๆ คือ ส่วนฉนวนป้องกันความร้อน (ป้องกันไม่ให้ความร้อน

ไหลเข้ามา) และ ส่วนทำความเย็น (ปั๊มที่นำความร้อนออกไปสู่ภายนอกซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า) คนส่วนใหญ่ใช้ตู้เย็นเก็บอาหาร เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เนื่องจากแบคทีเรียเติบโตช้ากว่าในอุณหภูมิต่ำ ตู้เย็นมีหลายประเภทตั้งแต่แบบที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเยือกแข็ง (ช่องธรรมดา) แบบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเล็กน้อย (ช่องแช่แข็ง, ช่องฟรีซ) ก่อนที่จะมีตู้เย็นประเทศในเขตหนาวใช้กล่องน้ำแข็ง (icebox) ในการรักษาอาหาร

ช่องแช่แข็งของตู้เย็นที่ขายอยู่ทั่วไปมีอุณหภูมิประมาณ -18 °C (ประมาณ 0 °F) สำหรับตู้เย็นที่ใช้ในบ้านมักมีช่องธรรมดาและช่องแช่แข็งรวมกัน และมักใช้เครื่องทำความเย็นร่วมกัน (บางครั้งก็แยกกัน) ตู้เย็นรุ่นใหม่ ๆ มักมีเครื่องทำน้ำแข็งติดตั้งมาพร้อมกัน
ตู้เย็นขนาดใหญ่รวมทั้งเครื่องทำน้ำแข็งขนาดใหญ่ในโรงงานมักใช้แก๊สแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายในการทำการทำความเย็น ทำให้ไม่ปลอดภัยในการใช้ในบ้านเรือน ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1930s ที่สหรัฐอเมริกาได้สังเคราะห์สารเคมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ ไม่ติดไฟ เช่น แก๊สฟรีออน





หม้อหุงข้าว ในปัจจุบัน
หม้อหุงข้าว เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับหุงข้าว เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น หม้อหุงข้าวที่เก่าแก่ที่สุด เรียกว่า คามาโดะ มีมาตั้งแต่ยุคสมัยโคฟุน ค.ศ. 300-710 

คามาโดะเป็นเตาดินเสริมด้วยอิฐหักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานต่อความร้อน ใช้ฟืนในการหุงต้ม นอกจากใช้หุงข้าวแล้วก็ยังนำมาต้มซุปถั่ว แต่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต่อมาสมัยนารา-เฮอัน ราวปี ค.ศ.710-794 หม้อหุงข้าวพัฒนามาเป็น โอกิ-คามาโดะ สร้างขึ้นให้ใช้งานกลางแจ้ง และมีภาชนะแยกส่วนสำหรับบรรจุอาหารที่เรียกว่าฮากามะ สำหรับหย่อนลงในหลุมที่ด้านล่างมีกองฟืนสำหรับหุงต้ม ภายหลังมีการประดิษฐ์ภาชนะบรรจุข้าวสำหรับหุงโดยเฉพาะ มีลักษณะเป็นทรงรีทำด้วยโลหะ เรียกว่า โอกามา เรียกหม้อหุงข้าวชนิดนี้ว่า มูชิ-คามาโดะ

เริ่มมีการทดลองผลิตหม้อหุงข้าวไฟฟ้าเป็นครั้งแรก ในช่วงปลายยุคสมัยไตโช กลางทศวรรษ 1920 ต่อมาปลายทศวรรษ 1940 บริษัทมิตซูบิชิ อิเลคทริก ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่สะดวกสบายนัก ยังไม่มีระบบอัตโนมัติ ภายหลังบริษัทมัตซูชิตะและโซนี่ผลิตหม้อหุงข้าวออกจำหน่าย แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สตรีญี่ปุ่นต้องใช้แรงงานในการสงครามด้วย ความสะดวกรวดเร็วและประหยัดเวลาในการหุงข้าวจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ในวันที่ 10 ธันวาคม 1956 บริษัทโตชิบานำหม้อหุงข้าวอัตโนมัติออกวางจำหน่าย 700 ใบ ประสบความสำเร็จมาก โตชิบาเริ่มผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน อีก 4 ปี ต่อมาหม้อหุงข้าวเริ่มแพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศ หม้อหุงข้าวของโตชิบานี้ใช้เวลาเพียง 20 นาที มี 2 ชั้น ชั้นนอกสำหรับบรรจุน้ำ ส่วนชั้นในสำหรับบรรจุข้าว รูปแบบนี้ใช้อยู่นานถึง 9 ปี จึงเปลี่ยนพัฒนามาเป็นหม้อหุงข้าวในยุคปัจจุบัน




พัดลมไอน้ำขณะทำงาน

หัวพ่นพัดลมไอน้ำ (tiny nozzle)
พัดลมไอน้ำ (fan fogger หรือ mist fan) เป็นพัดลมที่พ่นหมอกหรือไอน้ำ มีทั้งใช้ภายนอกอาคาร และภายในอาคาร

พัดลมไอน้ำสามารถดัดแปลงเป็นรางพ่นไอน้ำ และ ในการลดค่าสาร แอมโมเนีย ในอากาศ ลดไฟฟ้าสถิตย์ในงานสิ่งทอ

ปั๊มแรงดันสูง

การสร้างละอองหมอกด้วย ปั๊มแรงดันสูง (high pressure pump)และหัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ใช้หลักการจ่ายน้ำผ่านรูขนาดเล็กมากๆ เพื่อให้หยดน้ำที่พ่นออกมามีการแตกตัวเป็นอณูเล็กๆ (Atomization) ซึ่งปั๊มแรงดันสูงที่ใช้มีแรงดันตั้งแต่ 35 บาร์ขึ้นไปจนถึง 3000 บาร์ หรือ 43511.321 PSI แต่แรงดันที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมใช้สำหรับระบบพัดลมไอน้ำ คือ 70 บาร์ หรือ 1,000 PSI ส่วนการเลือกอัตราการไหลของปั๊มที่จะใช้ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น จำนวนของหัวพ่นหมอกในระบบ และความยาวรวมของท่อทางในระบบ เป็นหลัก
หัวพ่นหมอก (Mist Nozzle) ที่นิยมใช้กันมาก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางรูพ่น (Orifice)ตั้งแต่ 0.1 - 0.4 mm รูพ่นที่มีขนาดเล็กนี้ ผลิตโดยวิธีการใช้เลเซอร์ยิง ทำให้สามารถเจาะรูที่มีขนาดเล็กกว่าเส้นผมถึง 10 เท่า หัวพ่นหมอกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมที่มีแค่ระบบกันหยด (มีสปริงทำหน้าที่เป็นตัวเชควาล์ว กันน้ำหยดในตัวของ nozzle) ปัจจุบันมีระบบไส้กรองภายใน ระบบถอดทำความสะอาดง่าย และอื่นๆ หัวพ่นหมอกเป็นนาโนเทคโนโลยีชนิดหนึ่ง เมื่อจ่ายน้ำที่มีแรงดันสูงผ่าน จะทำให้เกิดละอองน้ำขนาด 5 ไมครอน ซึ่งเล็กมาก ทำให้สามารถระเหยได้โดยฉับพลัน (Flash Evaporation) ในกระบวนการระเหยนี้ ละอองหมอกจะดูดซับเอาความร้อนจากอากาศรอบตัว ทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลง เรายังสามารถเพิ่มอัตราการระเหยได้ด้วยการเพิ่มพัดลม ทำให้ส่งไอน้ำได้ไกลขึ้นไปอีกด้วยแรงลมจากพัดลม พัดลมไอน้ำเริ่มเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2545




เครื่องซักผ้า เป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับในการซักล้างเสื้อผ้า รวมถึงวัสดุอื่นที่ทำจากผ้า
ในศตวรรษที่ 16-17ได้มีการคิดค้นเครื่องซักผ้าขึ้นมาใช้งาน โดยมีถังไม้ใหญ่บรรจุน้ำและผ้าซึ่งหมุนได้ด้วยแกนที่มีด้ามสำหรับหมุนด้วยมือ ผ้าจะผ่านลูกกลิ้งซึ่งคล้ายกับที่บดปลาหมึก ตราบจนถึงปี ค.ศ.1907 ชาวอเมริกันชื่อ อัลวา ฟิสเซอร์ได้สร้างเครื่องซักผ้าทีทำงานด้วยระบบไฟฟ้าได้สำเร็จ


ร้านซักผ้า โดยมีเครื่องซักผ้าวางไว้บริการลูกค้า

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เครื่องใช้ในครัวเรือน


กระบุง

                                            
 ลักษณะของเครื่องมือ:    กระบุง เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่นๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหูห้อยตรงปากกระบุง 2 ข้างเอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ หรือหิ้ว ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน กระบุงขนาดใหญ่มีหูร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ ขนาดกลางใช้ในการตวงหรือโกย และกระบุงขนาดเล็กจะใช้สำหรับงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆ ไป
 การใช้ประโยชน์:       หลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษา
 อธิบายการใช้ประโยชน์:       กระบุง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตักตวงหรือโกย ข้าว เมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่นๆ ทั้งนี้การใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบุงด้วย ซึ่งหากเป็นกระบุงขนาดใหญ่จะใช้สำหรับในการหาบข้าว หรือเมล็ดพืชต่างๆ ถ้าเป็นขนาดกลางจะใช้สำหรับในการตวง หรือโกยข้าว แต่ถ้าหากเป็นกระบุงขนาดเล็กจะนิยมมาใส่ของเบ็ดเตล็ด กระบุงสามารถใช้งานได้ประมาณ 2-4 ปี และนิยมทำกันในท้องถิ่น

 

ฝาชีขันหมาก

                                     
ประโยชน์ของฝาชี :  ใช้สำหรับครอบอาหารคาว หวาน เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ ลงไปในอาหาร

 

หาบหรือกระจาดหาบ

                           
หาบ :   เป็นเครืองมือที่ใช้สำหรับใส่ของต่าง ๆ  โดยคล้องหาบที่ไม้คานทั้ง 2 ด้าน แล้วแบกตรงกลาง

 

ที่รองขี้ไต้

                                      

ที่รองขี้ไต้ :  ใช้รองขี้ไต้ หรือขี้เถ้าจากเตาไฟ เพื่อไม่ให้หล่นไปที่พื้น


หวด

                                         
ชื่อสามัญ   หวด  หวดหรือมวย  เป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ  ใช้สำหรับนึ่งข้าวเหนียวและผลไม้อื่น  ๆ  ได้ทำหน้าที่คล้ายกับซึงในปัจจุบัน  ที่ก้นมวยจะมีที่รองรับข้าวเพื่อไม่ให้รั่วไหลลงหม้อนึ่ง  เรียกว่ากระเตี้ยวมวย  (กะเต้าโมย)
อุปกรณ์การผลิต 
            1.  ไม้ไผ่ที่แก่จัด
                2.  หวาย
                3.  พร้า
วิธีการผลิต นำไม้ไผ่ที่แก่จัด  (ไม้ไผ่กล้า)  นำมาจักเป็นตอกหนาประมาณครึ่งมิลลิเมตร  ความกว้าง  1  นิ้ว  ให้มีความยาวพอสมควรส่วนข้างล่างหรือก้นมวยใช้ตอกที่จักขนาดเล็กสานเป็นลายสองให้ถี่ยิบ  พร้อมกับสานกะเตี้ยวมวยที่ลักษณะกรมแบนตามก้นมวย  ลำตัวของมวยใช้ตอกที่สานเรียบร้อยแล้วห่อเป็นทรงกลม ปากมวยทำเป็นขอบด้วยไม้ไผ่  ใช้หวายที่จักเป็นตอกเรียบร้อยแล้วมัดติดให้ระยะห่างกันพอสมควร
วิธีใช้ นำข้าวสารเหนียวซึ่งแช่น้ำไว้  (หม่า)  ประมาณ  3-6  ซม.  และขยายตัวได้ที่แล้ว  (ไน๊)  ใส่ลงไปในมวยซึ่งมีกระเตี๊ยวมวยรองรับอยู่รอให้สะเด็ดน้ำสักพักหนึ่งใช้ฝาหม้อหรือภาชนะแบน  ๆ  ปิดทับข้าวสารไว้  นำไปตั้งในหม้อนึ่งซึ่งมีน้ำอยู่พอประมาณและตั้งอยู่บนเตาไฟเรียบร้อยแล้ว  สุมฟืนให้เกิดความร้อนสม่ำเสมอจนเกิดไอน้ำพุ่งทะลุผ่านข้าวสารขึ้นมา  ทิ้งไว้ระยะหนึ่งใช้ไม้พายเล็ก  ๆ  (ไม้กระด้าม

กระชอน

                                                
                     กระชอนเป็นเครื่องกรองเพื่อแยกน้ำและกากออกจากกัน เช่น แยกน้ำกะทิออกจาเนื้อมะพร้าวหรือป้องกันไม่ให้สิ่ง ที่เราต้องการหลุดลอยไปกับน้ำในขณะที่รินน้ำทิ้ง แต่ส่วนมากแล้วกระชอนจะใช้สำหรับกรองน้ำกะทิ หรือคั้นกะทิเสียเป็นส่วนใหญ่
                     กระชอนมีลักษณะเป็นรูโปร่งเล็ก ๆ สานด้วยไม้ไผ่เส้นเล็ก ๆ ขัดสานกันให้มีรูเล็ก ๆ ทั่ว ๆ ไปขึงติดกับขอบไม้ไผ่ หวาย ไม้ มีทั้งรูปกลมและสี่เหลี่ยมมีหูยาวยื่นออกมาเพื่อสำหรับ วางพาดกับปากภาชนะที่จะรอรับน้ำกะทิ ในขณะทำการคั้นกะทิน้ำกะทิได้จากมะพร้าวแก่ นำมาขูดเอาเนื้อมะพร้าว ออกให้มีลักษณะเป็นฝอยเล็ก ๆ ด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวหรือเครื่องมืออื่น ๆ นำมะพร้าวที่ขูดเป็นฝอยแล้วมาขยำบีบเอาน้ำกะทิ จากเนื้อมะพร้าวนั้นออกมา แล้วกรองด้วยกระชอน
                      ในสมัยโบราณกระชอนอาจทำด้วยวัสดุจากธรรมชาติหลายชนิด เช่นทำด้วยกะโหลกมะพร้าวก็มี โดยหากะโหลกมะพร้าวขนาดใหญ่มาเจาะรูให้เป็นรังผึ้ง หรืออาจทำมาจากแผ่นกระดานนำมาเจาะรู แต่ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นไม้ไผ่นำมาจักสานเพราะตา จะถี่ละเอียด กรองกากมะพร้าวได้ดี ปัจจุบันกระชอนมักทำด้วย โลหะมีทั้งที่ทำจาก อลูมิเนียมและสแตนเลส ให้ความคงทนและ สามารถกรองอาหารชนิดต่างๆ ที่ต้องการให้สะเด็ดน้ำได้ดี

กระด้ง

                                                      
               กระด้ง : เป็นเครื่องมือฝัดข้าวที่ตำแล้ว เพื่อฝัดเอาแกลบหรือลำ ที่ยังปนอยู่กับข้าวสารออก เป็นเครื่องมือจักรสานชนิดหนึ่งที่ทำจากไม้ไผ่ ขอบกระด้งทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงรี ถักติดกับลายสานด้วยหวายกระด้งนอกจากฝัดข้าวสารแล้ว ยังใช่เป็นเครื่องใช้ฝัดข้าวเปลือก หรือเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นได้ด้วย

กระต่ายขูดมะพร้าว

                                          
                   กระต่ายขูดมะพร้าว :  บางพื้นบ้านเรียกว่า กระต่ายขูด หรือเหล็กขูดก็มี ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กระเทาะเปลือกออกการเรียกชื่อกระต่ายขูดมะพร้าวอาจเนื่องมาจาก ฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่าย ประกอบกับการทำโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว มักทำเป็นตัวกระต่ายมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น แม้ว่าจะมีการประดิดประดอยโครงไม้เป็นตัวแมว สุนัข นก หนู สิงห์ เต่า ตะกวด ก็ตาม ชาวบ้านจะเรียกรวมว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว”ผู้สูงอายุเล่าว่า เดิมทีเดียวการขูดเนื้อมะพร้าวคั้นกะทิ จะใช้ช้อนทำจากกะลามะพร้าวขูดให้เป็นฝอย ต่อมาทำเป็นฟันซี่โดยรอบ บางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่สำหรับขูดมะพร้าว จนกระทั่งเมื่อมีการใช้เหล็กมาทำของใช้ในครัวเรือน จึงได้ตีเหล็กแผ่นบาง ๆ ตัดรูปโค้งมน ใช้ตะไบถู ทำซี่ละเอียดปลายเหล็กคมเรียกว่า “ฟันกระต่าย” นำส่วนเหล็กขูดฟันกระต่ายนี้ไปประกบหรือเข้าเดือยกับรูปตัวสัตว์ที่เตรียมไว้

                   วิธีการขูดมะพร้าวของชาวบ้านจะขูดเบา ๆ ไม่กดแรงเกินไป เพราะจะทำให้คั้นกะทิยาก หากขูดเบา ๆ แล้วเนื้อมะพร้าวจะเป็นฝอยละเอียด คั้นน้ำกะทิง่ายและได้ปริมาณมากกว่าด้วย ปกติการขูดมะพร้าวใช้ปรุงอาหารเฉพาะครอบครัวต้องขูดในระหว่างเตรียมอาหารขณะนั้น ไม่นิยมขูดเนื้อมะพร้าวไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะจะทำให้เนื้อมะพร้าวเหม็นบูด ถ้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพ ชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันจะมาช่วยขูดมะพร้าวไว้จำนวนมาก เมื่อใช้ปรุงอะไรก็หยิบใช้ได้ทันที อาหารคาวหวานอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกะทิมะพร้าวด้วย หากมีกะทิมันหรือที่เรียกว่า “แก่กะทิ” คือ คั้นกะทิปรุงอาหาร ชาวบ้านจะชอบเพราะมีรสดี นั่นเอง
การขูดมะพร้าวโดยใช้กระต่ายขูดนับวันจะน้อยลง เพราะมีเครื่องมือขูดมะพร้าวชนิดใช้มือหมุน และแรงเครื่องยนต์เข้ามาแทนที่ ส่วนชาวบ้านก็ไม่ค่อยทำโครงไม้เป็นรูปสัตว์ชนิดอื่นอีก เพราะไม่มีเวลาประดิดประดอย เพียงแต่ใช้เหล็กแผ่น ๆ ทำเป็นเหล็กขูด และมีขาตั้งพื้นเชื่อมติดเป็นแผ่นเดียวกันเท่านั้น

ครก

                                                        
             ครกไทยดั้งเดิมทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาและสากทำมาจากเนื้อไม้แข็งมานานไม่ต่ำกว่า 800 ปี ซึ่งเรียกว่า ครกกระเบือ และครกกระเบือที่เก่าแก่มากที่สุดเป็นครกในสมัยอยุธยา ทำด้วยดินเผาสีดำ ซึ่งขณะนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดอยุธยา เป็นครกปากกว้างประมาณ 23 เซนติเมตร ขอบปากปั้นเป็นรูปกลมมนโค้งวงกลมมนโค้งวงกลมช่วงระหว่างปากครกถึงก้นครกจะค่อย ๆ สอบ หรือเรียวเล็กลง โดยมีฐานรองอีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะกลมมนคล้ายปากครก เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักระหว่างใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสียของครกประเภทนี้คือ ครกมักแตกพังง่าย นอกจากนั้นครกยังนิยมทำด้วยไม้ขนาดใหญ่นำมาขุดเจาะ ส่วนมาใช้สำหรับตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ครกสมัยโบราณที่เห็นมักมีลักษณะปากกว้างขอบปากปั้นกลมมนโค้งเป็นวงกลม ช่วงระหว่างปากครกถึงก้นครกจะค่อย ๆ สอบหรือเรียวเล็กลงคล้ายกับครกกระเบือ เมื่อนำมาตั้งดูจะค่อนข้างสูง คนไทยในสมัยโบราณได้ใช้ครกในการโขลกบดอาหารใให้แหลกละเอียดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับจีน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ แก่กัน ช่วงนี้เอง ที่สันนิษฐานว่าได้เปลี่ยนความนิยมจากครกดินเผา มาเป็นครกหินที่ได้มาจากจีน แต่ครกเหล่านี้ก็มีใช้แต่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปก็ยังใช้ครกที่ปั้นจากดินแล้วเผาอยู่เหมือนเดิม ครกหินมีลักษณะคล้ายกับครกดินเผา กล่าวคือมีลักษณะเป็นเป้ากลมลึกลงไปพอประมาณ ก้นครกทำเป็นฐานรองเพื่อให้สามารถตั้งใช้งานได้สะดวก ปัจจุบันได้มีการผลิตครกหินออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป

โอ่ง

   
                ประโยชน์ของโอ่งนั้นมีมากมาย นอกจากใช้ใส่น้ำแล้ว ยังใช้เป็นที่เลี้ยงปลา ปลูกดอกบัวหรือต้นไม้ประเภทอื่น และตกแต่งบ้านเรือนได้อีกด้วย นอกจากนี้ โอ่งยังเป็นภาชนะที่ช่วยเก็บความเย็น เห็นได้ว่าในสมัยที่บ้านเรายังไม่เจริญเหมือนเดี๋ยวนี้ ไม่มีตู้เย็นใช้ ก็ได้โอ่งนี่แหละเป็นพระเอก ช่วยเก็บน้ำเย็น ๆ ไว้ให้เราทั้งอาบและดื่มอย่างชื่นใจ

กระโบม


                                                            
        กระโบม  หรือ กั๊ว  เป็นถาดผึ่งข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วเพื่อให้ไอร้อนระเหยออกบ้างก่อนนำไปใส่ก่องข้าวหรือกระติบ  กระโบมทำจากไม้รูปแบน ขอบกลม