วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

เครื่องใช้ในครัวเรือน


กระบุง

                                            
 ลักษณะของเครื่องมือ:    กระบุง เป็นภาชนะที่จักสานด้วยไม้ไผ่เป็นลวดลายต่างๆ ใช้สำหรับใส่ข้าว ข้าวโพด ถั่วงา ใช้ตวงหรือโกย และใส่ของอื่นๆ ปากมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมกว้างประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก้นมีรูปทรงสี่เหลี่ยม และมีหูห้อยตรงปากกระบุง 2 ข้างเอาไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ หรือหิ้ว ขนาดของกระบุงโดยทั่วไปแล้วจะมีอยู่ สามขนาด รูปทรงจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการใช้งาน กระบุงขนาดใหญ่มีหูร้อยเชือกเพื่อใช้หาบ ขนาดกลางใช้ในการตวงหรือโกย และกระบุงขนาดเล็กจะใช้สำหรับงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆ ไป
 การใช้ประโยชน์:       หลังการเก็บเกี่ยว และเก็บรักษา
 อธิบายการใช้ประโยชน์:       กระบุง เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตักตวงหรือโกย ข้าว เมล็ดพืช และใส่สิ่งของอื่นๆ ทั้งนี้การใช้ขึ้นอยู่กับขนาดของกระบุงด้วย ซึ่งหากเป็นกระบุงขนาดใหญ่จะใช้สำหรับในการหาบข้าว หรือเมล็ดพืชต่างๆ ถ้าเป็นขนาดกลางจะใช้สำหรับในการตวง หรือโกยข้าว แต่ถ้าหากเป็นกระบุงขนาดเล็กจะนิยมมาใส่ของเบ็ดเตล็ด กระบุงสามารถใช้งานได้ประมาณ 2-4 ปี และนิยมทำกันในท้องถิ่น

 

ฝาชีขันหมาก

                                     
ประโยชน์ของฝาชี :  ใช้สำหรับครอบอาหารคาว หวาน เพื่อป้องกันแมลงต่างๆ ลงไปในอาหาร

 

หาบหรือกระจาดหาบ

                           
หาบ :   เป็นเครืองมือที่ใช้สำหรับใส่ของต่าง ๆ  โดยคล้องหาบที่ไม้คานทั้ง 2 ด้าน แล้วแบกตรงกลาง

 

ที่รองขี้ไต้

                                      

ที่รองขี้ไต้ :  ใช้รองขี้ไต้ หรือขี้เถ้าจากเตาไฟ เพื่อไม่ให้หล่นไปที่พื้น


หวด

                                         
ชื่อสามัญ   หวด  หวดหรือมวย  เป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ  ใช้สำหรับนึ่งข้าวเหนียวและผลไม้อื่น  ๆ  ได้ทำหน้าที่คล้ายกับซึงในปัจจุบัน  ที่ก้นมวยจะมีที่รองรับข้าวเพื่อไม่ให้รั่วไหลลงหม้อนึ่ง  เรียกว่ากระเตี้ยวมวย  (กะเต้าโมย)
อุปกรณ์การผลิต 
            1.  ไม้ไผ่ที่แก่จัด
                2.  หวาย
                3.  พร้า
วิธีการผลิต นำไม้ไผ่ที่แก่จัด  (ไม้ไผ่กล้า)  นำมาจักเป็นตอกหนาประมาณครึ่งมิลลิเมตร  ความกว้าง  1  นิ้ว  ให้มีความยาวพอสมควรส่วนข้างล่างหรือก้นมวยใช้ตอกที่จักขนาดเล็กสานเป็นลายสองให้ถี่ยิบ  พร้อมกับสานกะเตี้ยวมวยที่ลักษณะกรมแบนตามก้นมวย  ลำตัวของมวยใช้ตอกที่สานเรียบร้อยแล้วห่อเป็นทรงกลม ปากมวยทำเป็นขอบด้วยไม้ไผ่  ใช้หวายที่จักเป็นตอกเรียบร้อยแล้วมัดติดให้ระยะห่างกันพอสมควร
วิธีใช้ นำข้าวสารเหนียวซึ่งแช่น้ำไว้  (หม่า)  ประมาณ  3-6  ซม.  และขยายตัวได้ที่แล้ว  (ไน๊)  ใส่ลงไปในมวยซึ่งมีกระเตี๊ยวมวยรองรับอยู่รอให้สะเด็ดน้ำสักพักหนึ่งใช้ฝาหม้อหรือภาชนะแบน  ๆ  ปิดทับข้าวสารไว้  นำไปตั้งในหม้อนึ่งซึ่งมีน้ำอยู่พอประมาณและตั้งอยู่บนเตาไฟเรียบร้อยแล้ว  สุมฟืนให้เกิดความร้อนสม่ำเสมอจนเกิดไอน้ำพุ่งทะลุผ่านข้าวสารขึ้นมา  ทิ้งไว้ระยะหนึ่งใช้ไม้พายเล็ก  ๆ  (ไม้กระด้าม

กระชอน

                                                
                     กระชอนเป็นเครื่องกรองเพื่อแยกน้ำและกากออกจากกัน เช่น แยกน้ำกะทิออกจาเนื้อมะพร้าวหรือป้องกันไม่ให้สิ่ง ที่เราต้องการหลุดลอยไปกับน้ำในขณะที่รินน้ำทิ้ง แต่ส่วนมากแล้วกระชอนจะใช้สำหรับกรองน้ำกะทิ หรือคั้นกะทิเสียเป็นส่วนใหญ่
                     กระชอนมีลักษณะเป็นรูโปร่งเล็ก ๆ สานด้วยไม้ไผ่เส้นเล็ก ๆ ขัดสานกันให้มีรูเล็ก ๆ ทั่ว ๆ ไปขึงติดกับขอบไม้ไผ่ หวาย ไม้ มีทั้งรูปกลมและสี่เหลี่ยมมีหูยาวยื่นออกมาเพื่อสำหรับ วางพาดกับปากภาชนะที่จะรอรับน้ำกะทิ ในขณะทำการคั้นกะทิน้ำกะทิได้จากมะพร้าวแก่ นำมาขูดเอาเนื้อมะพร้าว ออกให้มีลักษณะเป็นฝอยเล็ก ๆ ด้วยกระต่ายขูดมะพร้าวหรือเครื่องมืออื่น ๆ นำมะพร้าวที่ขูดเป็นฝอยแล้วมาขยำบีบเอาน้ำกะทิ จากเนื้อมะพร้าวนั้นออกมา แล้วกรองด้วยกระชอน
                      ในสมัยโบราณกระชอนอาจทำด้วยวัสดุจากธรรมชาติหลายชนิด เช่นทำด้วยกะโหลกมะพร้าวก็มี โดยหากะโหลกมะพร้าวขนาดใหญ่มาเจาะรูให้เป็นรังผึ้ง หรืออาจทำมาจากแผ่นกระดานนำมาเจาะรู แต่ที่นิยมใช้กันมากจะเป็นไม้ไผ่นำมาจักสานเพราะตา จะถี่ละเอียด กรองกากมะพร้าวได้ดี ปัจจุบันกระชอนมักทำด้วย โลหะมีทั้งที่ทำจาก อลูมิเนียมและสแตนเลส ให้ความคงทนและ สามารถกรองอาหารชนิดต่างๆ ที่ต้องการให้สะเด็ดน้ำได้ดี

กระด้ง

                                                      
               กระด้ง : เป็นเครื่องมือฝัดข้าวที่ตำแล้ว เพื่อฝัดเอาแกลบหรือลำ ที่ยังปนอยู่กับข้าวสารออก เป็นเครื่องมือจักรสานชนิดหนึ่งที่ทำจากไม้ไผ่ ขอบกระด้งทำด้วยไม้ไผ่ขดเป็นวงรี ถักติดกับลายสานด้วยหวายกระด้งนอกจากฝัดข้าวสารแล้ว ยังใช่เป็นเครื่องใช้ฝัดข้าวเปลือก หรือเมล็ดพันธุ์อย่างอื่นได้ด้วย

กระต่ายขูดมะพร้าว

                                          
                   กระต่ายขูดมะพร้าว :  บางพื้นบ้านเรียกว่า กระต่ายขูด หรือเหล็กขูดก็มี ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับขูดมะพร้าวที่ยังไม่ได้กระเทาะเปลือกออกการเรียกชื่อกระต่ายขูดมะพร้าวอาจเนื่องมาจาก ฟันที่ใช้ขูดเนื้อมะพร้าวมีลักษณะเป็นซี่ยาวเหมือนฟันกระต่าย ประกอบกับการทำโครงไม้ซึ่งใช้เสียบฟันขูดและนั่งเวลาขูดมะพร้าว มักทำเป็นตัวกระต่ายมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น แม้ว่าจะมีการประดิดประดอยโครงไม้เป็นตัวแมว สุนัข นก หนู สิงห์ เต่า ตะกวด ก็ตาม ชาวบ้านจะเรียกรวมว่า “กระต่ายขูดมะพร้าว”ผู้สูงอายุเล่าว่า เดิมทีเดียวการขูดเนื้อมะพร้าวคั้นกะทิ จะใช้ช้อนทำจากกะลามะพร้าวขูดให้เป็นฝอย ต่อมาทำเป็นฟันซี่โดยรอบ บางแห่งใช้ซีกไม้ไผ่บากรอยเป็นซี่สำหรับขูดมะพร้าว จนกระทั่งเมื่อมีการใช้เหล็กมาทำของใช้ในครัวเรือน จึงได้ตีเหล็กแผ่นบาง ๆ ตัดรูปโค้งมน ใช้ตะไบถู ทำซี่ละเอียดปลายเหล็กคมเรียกว่า “ฟันกระต่าย” นำส่วนเหล็กขูดฟันกระต่ายนี้ไปประกบหรือเข้าเดือยกับรูปตัวสัตว์ที่เตรียมไว้

                   วิธีการขูดมะพร้าวของชาวบ้านจะขูดเบา ๆ ไม่กดแรงเกินไป เพราะจะทำให้คั้นกะทิยาก หากขูดเบา ๆ แล้วเนื้อมะพร้าวจะเป็นฝอยละเอียด คั้นน้ำกะทิง่ายและได้ปริมาณมากกว่าด้วย ปกติการขูดมะพร้าวใช้ปรุงอาหารเฉพาะครอบครัวต้องขูดในระหว่างเตรียมอาหารขณะนั้น ไม่นิยมขูดเนื้อมะพร้าวไว้ล่วงหน้านาน ๆ เพราะจะทำให้เนื้อมะพร้าวเหม็นบูด ถ้ามีการทำบุญเลี้ยงพระ งานบวช งานแต่งงาน หรืองานศพ ชาวบ้านซึ่งอยู่ใกล้ชิดติดกันจะมาช่วยขูดมะพร้าวไว้จำนวนมาก เมื่อใช้ปรุงอะไรก็หยิบใช้ได้ทันที อาหารคาวหวานอร่อยหรือไม่ขึ้นอยู่กับกะทิมะพร้าวด้วย หากมีกะทิมันหรือที่เรียกว่า “แก่กะทิ” คือ คั้นกะทิปรุงอาหาร ชาวบ้านจะชอบเพราะมีรสดี นั่นเอง
การขูดมะพร้าวโดยใช้กระต่ายขูดนับวันจะน้อยลง เพราะมีเครื่องมือขูดมะพร้าวชนิดใช้มือหมุน และแรงเครื่องยนต์เข้ามาแทนที่ ส่วนชาวบ้านก็ไม่ค่อยทำโครงไม้เป็นรูปสัตว์ชนิดอื่นอีก เพราะไม่มีเวลาประดิดประดอย เพียงแต่ใช้เหล็กแผ่น ๆ ทำเป็นเหล็กขูด และมีขาตั้งพื้นเชื่อมติดเป็นแผ่นเดียวกันเท่านั้น

ครก

                                                        
             ครกไทยดั้งเดิมทำด้วยเครื่องปั้นดินเผาและสากทำมาจากเนื้อไม้แข็งมานานไม่ต่ำกว่า 800 ปี ซึ่งเรียกว่า ครกกระเบือ และครกกระเบือที่เก่าแก่มากที่สุดเป็นครกในสมัยอยุธยา ทำด้วยดินเผาสีดำ ซึ่งขณะนี้จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดอยุธยา เป็นครกปากกว้างประมาณ 23 เซนติเมตร ขอบปากปั้นเป็นรูปกลมมนโค้งวงกลมมนโค้งวงกลมช่วงระหว่างปากครกถึงก้นครกจะค่อย ๆ สอบ หรือเรียวเล็กลง โดยมีฐานรองอีกชั้นหนึ่ง มีลักษณะกลมมนคล้ายปากครก เพื่อให้สามารถรองรับน้ำหนักระหว่างใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ข้อเสียของครกประเภทนี้คือ ครกมักแตกพังง่าย นอกจากนั้นครกยังนิยมทำด้วยไม้ขนาดใหญ่นำมาขุดเจาะ ส่วนมาใช้สำหรับตำข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสาร ครกสมัยโบราณที่เห็นมักมีลักษณะปากกว้างขอบปากปั้นกลมมนโค้งเป็นวงกลม ช่วงระหว่างปากครกถึงก้นครกจะค่อย ๆ สอบหรือเรียวเล็กลงคล้ายกับครกกระเบือ เมื่อนำมาตั้งดูจะค่อนข้างสูง คนไทยในสมัยโบราณได้ใช้ครกในการโขลกบดอาหารใให้แหลกละเอียดเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับจีน ทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่าง ๆ แก่กัน ช่วงนี้เอง ที่สันนิษฐานว่าได้เปลี่ยนความนิยมจากครกดินเผา มาเป็นครกหินที่ได้มาจากจีน แต่ครกเหล่านี้ก็มีใช้แต่ในหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้น ชาวบ้านทั่วไปก็ยังใช้ครกที่ปั้นจากดินแล้วเผาอยู่เหมือนเดิม ครกหินมีลักษณะคล้ายกับครกดินเผา กล่าวคือมีลักษณะเป็นเป้ากลมลึกลงไปพอประมาณ ก้นครกทำเป็นฐานรองเพื่อให้สามารถตั้งใช้งานได้สะดวก ปัจจุบันได้มีการผลิตครกหินออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนทั่วไป

โอ่ง

   
                ประโยชน์ของโอ่งนั้นมีมากมาย นอกจากใช้ใส่น้ำแล้ว ยังใช้เป็นที่เลี้ยงปลา ปลูกดอกบัวหรือต้นไม้ประเภทอื่น และตกแต่งบ้านเรือนได้อีกด้วย นอกจากนี้ โอ่งยังเป็นภาชนะที่ช่วยเก็บความเย็น เห็นได้ว่าในสมัยที่บ้านเรายังไม่เจริญเหมือนเดี๋ยวนี้ ไม่มีตู้เย็นใช้ ก็ได้โอ่งนี่แหละเป็นพระเอก ช่วยเก็บน้ำเย็น ๆ ไว้ให้เราทั้งอาบและดื่มอย่างชื่นใจ

กระโบม


                                                            
        กระโบม  หรือ กั๊ว  เป็นถาดผึ่งข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้วเพื่อให้ไอร้อนระเหยออกบ้างก่อนนำไปใส่ก่องข้าวหรือกระติบ  กระโบมทำจากไม้รูปแบน ขอบกลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น